หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วันวิสาขบูชา

ความหมาย คำว่า "วิสาขบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสา - ขบุรณมีบูชา "
แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ " ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองครั้ง ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน ๗




ความสำคัญ
วันวิสาขบูชา
เป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด ได้ตรัสรู้

คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือ ดับ เกิดขึ้นตรงกันทั้ง ๓ คราวคือ

1. เป็นวัน ประสูติ
เมื่อพระนางสิริมหามายาอัครมเหสีในพระเจ้าสุโททะนะ ทรงมีพระประสูติกาลคือ เจ้าชายสิทธัตถะ ณ ป่าลุมพินีวัน ซึ่งเป็นดินแดนระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ กับกรุงเทวทหะ ปัจจุบันเรียกว่า ตำบลรุมมินเด แขวงเปชวาร์ ประเทศเนปาล ครั้งนั้นตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี

2. เป็นวันตรัสรู้
หลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงถือเพศฆราวาสมา 29 พรรษา จนมีพระโอรสคือ พระราหุล แล้วทรงเบื่อหน่ายทางโลก จึงเสร็จออกบรรพชา ทรงประจักษ์หลักธรรมขึ้นในพระปัญญษ และได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยสมบูรณ์ ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธ คยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย) ตรงกับวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ( ขณะนั้นพระพุทธองค์มีพระชนม์มายุได้ 35 พรรษา หลังจากออกผนวช ได้ 6 ปี )

3. วันปรินิพพาน
หลังจากพระพุทธเจ้าองค์ทรงใช้เวลาทั้งหมดเผยแพร่พระศาสนาและสั่งสอนธรรมแก่ ประชาชน จนพระชนมายุได้ 80 พรรษาก็เสร็จดับขันธปรินิพาน ณ สาลวโนทยาน แขวงเมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมือง กุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ตรงกับวันอังคารขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ก่อนพุทธศักราช 1 ปี


ประวัติความเป็นมาของวัน วิสาขบูชาในประเทศไทย

วันวิสาขบูชา ปรากฏตามหลักฐานว่า ได้มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี
ซึ่งสันนิษฐานว่า คงจะได้แบบอย่าง มาจากลังกา กล่าวคือ เมื่อประมาณ พ.ศ. ๔๒๐
พระเจ้าภาติกุราช กษัตริย์แห่งกรุงลังกา ได้ประกอบพิธีวิสาขบูชาอย่าง มโหฬาร
เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา กษัตริย์ลังกา ในรัชกาลต่อ ๆ มา ก็ทรงดำเนินรอยตาม
แม้ปัจจุบันก็ยังถือปฏิบัติอย

ู่
สมัยสุโขทัยนั้น ประเทศไทยกับประเทศลังกามีความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนาใกล้ชิดกันมาก
เพราะพระสงฆ์ชาวลังกา ได้เดินทางเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนา และเชื่อว่า
ได้นำการประกอบพิธีวิสาขบูชามาปฏิบัติในประเทศไทยด้วย
ในหนังสือนางนพมาศได้กล่าวบรรยากาศการประกอบพิธีวิสาขบูชาสมัยสุโขทัยไว้
พอสรุปใจความได้ว่า


" เมื่อถึงวันวิสาขบูชา พระเจ้าแผ่นดิน ข้าราชบริพาร ทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน
ตลอดทั้งประชาชนชาวสุโขทัยทั่วทุก หมู่บ้านทุกตำบล ต่างช่วยกันทำความสะอาด
ประดับตกแต่งพระนครสุโขทัยเป็นการพิเศษ ด้วยดอกไม้ของหอม
จุดประทีปโคมไฟแลดูสว่างไสวไปทั่วพระนคร เป็นการอุทิศบูชาพระรัตนตรัย
เป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน พระมหากษัตริย์ และบรมวงศานุวงศ์ ก็ทรงศีล
และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ
ครั้นตกเวลาเย็น ก็เสด็จพระราช ดำเนิน พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และนางสนองพระโอษฐ์
ต ลอดจนข้าราชการทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ไปยังพระ อารามหลวง
เพื่อทรงเวียนเทียนรอบพระประธาน ส่วนชาวสุโขทัยชวนกันรักษาศีล ฟังธรรมเทศนา
ถวายสลากภัต ถวายสังฆทาน ถวายอาหารบิณฑบาต แด่พระภิกษุ สามเณร
บริจาคทรัพย์แจกเป็นทานแก่คนยากจน คนกำพร้า คนอนาถา คนแก่ คนพิการ
บางพวกก็ชวนกันสละทรัพย์ ปล่อยสัตว์ ๔ เท้า ๒ เท้า และเต่า ปลา เพื่อชีวิตสัตว์ให้เป็นอิสระ
โดยเชื่อว่าจะทำให้คนอายุ ยืนยาวต่อไป "


ในสมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ด้วยอำนาจอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ เข้าครอบงำประชาชนคนไทย
และมีอิทธิพลสูงกว่าอำนาจของพระพุทธศาสนา จึงไม่ปรากฎหลักฐานว่า
ได้มีการประกอบพิธีบูชาในวันวิสาขบูชา
จนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ ๒
แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. ๒๓๖๐)
ทรงดำริกับ สมเด็จพระสังฆราช (มี) สำนักวัดราชบูรณะ มีพระราชประสงค์จะให้ฟื้นฟู
การประกอบพระราชพิธีวันวิสาขบูชาขึ้นใหม่
โดย สมเด็จพระสังฆราช ถวายพระพรให้ทรงทำขึ้น เป็นครั้งแรก
ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๖ พ.ศ. ๒๓๖๐
และให้จัดทำตามแบบอย่างประเพณีเดิมทุกประการ
เพื่อมีพระประสงค์ให้ประชาชนประกอบการบุญการกุศล เป็นหนทางเจริญอายุ
และอยู่เญ็นเป็นสุขปราศจากทุกข์โศกโรคภัย และอุปัทวันตรายต่างๆ โดยทั่วหน้ากัน

ฉะนั้น การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชาในประเทศไทย
จึงได้รื้อฟื้นให้มีขึ้นอีกครั้งหนึ่งในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒
และถือปฏิบัติมาจวบจนกระทั่งปัจจุบัน
การจัดงานเฉลิมฉลองในวันวิสาขบูชาที่ยิ่งใหญ่กว่าทุกยุคทุกสมัย
คงได้แก่การจัดงานเฉลิมฉลอง วันวิสาขบูชา พ.ศ.๒๕๐๐
ซึ่งทางราชการเรียกว่างาน " ฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ "
ตั้งแต่วันที่ ๑๒ ถึง ๑๘ พฤษภาคม รวม ๗ วัน
ได้จัดงานส่วนใหญ่ขึ้นที่ท้องสนามหลวง
ส่วนสถานที่ราชการ และวัดอารามต่างๆ ประดับธงทิวและโคมไฟสว่างไสวไปทั่วพระราชอาณาจักร
ประชาชนถือศีล ๕ หรือศีล ๘ ตามศรัทธาตลอดเวลา ๗ วัน
มีการอุปสมบทพระภิกษุสงฆ์รวม ๒,๕๐๐ รูป
ประชาชน งดการฆ่าสัตว์ และงดการดื่มสุรา
ตั้งแต่วันที่ ๑๒ ถึง ๑๔ พฤษภาคม รวม ๓ วัน
มีการก่อสร้าง พุทธมณฑล จัดภัตตาหาร เลี้ยงพระภิกษุสงฆ์วันละ ๒,๕๐๐ รูป
ตั้งโรงทานเลี้ยงอาหารแก่ประชาชน วันละ ๒๐๐,๐๐๐ คน เป็นเวลา ๓ วัน
ออกกฎหมาย สงวนสัตว์ป่าในบริเวณนั้น รวมถึงการฆ่าสัตว์ และจับสัตว์ในบริเวณวัด
และหน้าวัดด้วย และได้มีการปฏิบัติธรรมอันยิ่งใหญ่ อย่างพร้อมเพรียงกัน
เป็นกรณีพิเศษ ในวันวิสาขบูชาปีนั้นด้วย


ศานพิธี
การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา แบ่งออกเป็น 3 พิธีคือ
1. พิธีหลวง (พระราชพิธี)
2. พิธีราษฎร์ (พิธีของประชาชนทั่วไป)
3. พิธีของพระสงฆ์ (คือพิธีที่พระสงฆ์ประกอบศาสนกิจเนื่องในวันสำคัญวันนี้)
การประกอบพิธีและบทสวดมนต์ในวันวิสาขบูชา ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับการประกอบพิธีในวันมาฆบูชา


พุธกิจ 5 ประการ
พุทธกิจ 5 ประการ
1. ตอนเช้า เสด็จออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ คือเสด็จไปโปรดจริง
เพราะทรงพิจารณาเห็นตอนจวนสว่างแล้วว่าวันนี้มีใครบ้างที่ควรไปโปรดทรงสนทนา
หรือแสดงธรรมให้ละความเห็นผิดบ้าง ทรงส่งเสริมผู้ปฏิบัติชอบอยู่แล้วให้ปฏิเสธชอบบ้าง เป็นต้น
2. ตอบบ่าย ทรงแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนที่มาเฝ้า ณ ที่ประทับ
ซึ่งปรากฏว่าไม่ว่าพระองค์จะประทับอยู่ที่ใด ประชาชนทุกหมู่ทุกเหล่าตลอดถึง
ผู้ปกครอง นครแคว้นจะชวนกันมาเฝ้าเพื่อสดับตับพระธรรมเทศนาทุกวันมิได้ขาด
3. ตอนเย็น ทรงเเสดงโอวาทแก่ภิกษุสงฆ์ทั้งมวลที่อยู่ประจำ
ณ สถานที่นั้นบางวันก็มีภิกษุจากที่อื่นมาสมทบด้วยเป็นจำนวนมาก
4. ตอนเที่ยงคืน ทรงแก้ปัญหาหรือตอบปัญหาเทวดา หมายถึง เทพพวกต่าง ๆ
หรือกษัตริย์ซึ่งเป็นสมมติเทพผู้สงสัยในปัญหาและปัญหาธรรม
5. ตอนเช้ามืด จนสว่าง
ทรงพิจารณาสัตว์โลกที่มีอุปนิสัยที่พระองค์จะเสด็จไปโปรดได้แล้วเสด็จไปโปรด โดยการ
ไปบิณฑบาตดังกล่าวแล้วในข้อ 1 โดยนัยดังกล่าว มานี้พระพุทธองค์ทรงมีเวลาว่าอยู่เพียงเล็กน้อย
ตอนเช้าหลังเสวยอาหารเช้าแล้วแต่ก็เป็นเวลาที่ต้องทรงต้อนรับอาคันตุกะ ผู้มาเยือนอยู่เนือง ๆ
เสวยน้อย บรรทมน้อย แต่ทรงบำเพ็ญพุทธกิจมาก ตลอดเวลา 45 พรรษา
นั้นเองประชาชนชาวโลกระลึกถึงพระคุณของพระองค์ดังกล่าวมาโดยย่อนี้ จึงถือเอาวันประสูติ
ตรัสรู้และปรินิพพานของพระองค์เป็นวันสำคัญ
จัดพิธีวิสาขบูชาขึ้นในทุกประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา
สำหรับพิธีการต่าง ๆ ก็เหมือนกับที่กล่าวแล้วในวันวิสาขบูชา
ประเพณีวันวิสาขบูชานี้มาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและได้เสื่อมสูญไป
จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 2 ได้ทรงฟื้นฟูประเพณีนี้ขึ้นและปฏิบัติมาจนทุกวันนี้

ที่มา http://www.learntripitaka.com/History/VesakhaBucha.html
http://www.phutti.net/visaka/index.html

วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ สากล ไทย และวิธีการทางประวัติศาสตร์



ประวัติศาสตร์สากลในความหมายทั่วไป หมายถึง ประวัติศาสตร์ของผู้คนและชาติต่าง ๆ ในโลกตะวันตก (Western World) ซึ่งได้แก่ ผู้คนและชาติในทวีปยุโรป และอเมริกา ประวัติศาสตร์สากลมีช่วงเวลาที่ยาวนาน ย้อนไปเป็นเวลาหลายพันปี เพื่อความสะดวกในการศึกษา นักประวัติศาสตร์ได้แบ่งเป็นช่วงเลาที่มีลักษณะร่วมกัน เรียกเป็นสมัย คือสมัยโบราณ สมัยกลาง สมัยใหม่ สมัยปัจจุบัน หรือร่วมสมัย นัก ประวัติศาสตร์สากล ได้พัฒนาวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์มาเป็นเวลาประมาณ 2,500 ปีมาแล้ว เพื่อให้การศึกษาประวัติศาสตร์มีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ ทำให้เรารู้และเข้าใจ เรื่องราวทั้งหลายของผู้คนในอดีตได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับการเข้าใจปัจจุบันและคาดการณ์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้น ในอนาคตได้อย่างมีเหตุผล

*******************************************************

การนับและเทียบศักราชสากลและไทย

ในการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ มักนิยมใช้การระบุช่วงเวลาเพื่อให้ทราบถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยจะแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ การนับเวลาแบบไทย และการนับเวลาแบบสากล

การนับเวลาแบบไทย

ในประวัติศาสตร์ไทย จะมีการบันทึกเรื่องราวต่างๆ โดยมีการอ้างอิงถึงการนับช่วงเวลาแตกต่างกันไป ตามแต่ละท้องถิ่นมีดังนี้

1.พุทธ ศักราช(พ.ศ.)
เป็นการนับเวลาทางศักราชในกลุ่มผู้นับถือพระพุทธ ศาสนา โโยเริ่มนับตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ให้นับเป็นพุทธศักราชที่1 ทั้งนี้ประเทศไทยจะนิยมใช้การนับเวลาแบบนี้ โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ครั้งสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จนมาเป็ฯที่แพร่หลายและระบุใช้กันอย่างเป็นทางการในสมัยพระบาท สมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 6) ในปีพุทธศักราช 2455

2. มหาศักราช(ม.ศ.) การ นับศักราชนี้จะพบในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในสมัยสุโขทัย และอยุธยาตอนต้นโดยคิดขึ้นจากกษัตริย์ของอินเดีย (พระเจ้ากนิษกะ) ซึ่งพ่อค้าอินเดียและพวกพราหมณ์นำเข้ามาเผยแพร่ในเวลาติดต่อการค้ากับไทยใน สมัยโบราณ จะมีปรากฎในศิลาจาลึกเพื่อบันทึกเรื่องราวเหตุกาณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งถือว่าปีมหาศักราชที่1 จะตรงกับปีพุทธศักราช 621

3.จุลศักราช ( จ.ศ.)
จัดตั้งขึ้นโดยสังฆราชมนุโสรหัน แห่งอาณาจักรพุกาม เมื่อปีพุทธศักราช 1181โดยไทยรับเอาวิธ๊การนับเวลานี้มาใช้ในสมัยอยุธยา เพื่อการคำนวณทาง โหราศาสตร์ ใช้บอกเวลาในจารึก ตานาน พระราชพงศาวดาร จดหมายเหตุ ต่างๆ จนมาถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่5 ) จึงเลิกใช

4.รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ) การนับเวลาแบบนี้พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัว(รัชกาลที่5)ทรงตั้งขึ้
ในปีพุทธศักราช2432 โดยกำหนดให้กำหนดให้นับปีที่พระบาทสมเด็จพระพุทะยอดฟ้าจฬาโลกมหาราช สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปีพุทธศักราช 2325 เป็นรัตนโกสินทร์ศกที่1 และให้เริ่มใช้ศักราชนี้ในทางราชการตั้งแต่วันที่1 เมษายน ร.ศ.108 (พ.ศ.2432) เป็นต้นมา

การ นับเวลาแบบสากล

1. คริสต์ศักราช (ค.ศ. )
เป็นการนับเวลาทางศักราชของผู้นับถือ ศาสนาคริสต์ ซึ่งถือเป็นการนับเวลาที่นิยมใช้กันมาทั่วโลก โดยค
ริสต์ศักราชที่1 เริ่มนับตั้งแต่ปีที่พระเยซูคริสต์ประสูต(ตรงกับ พ.ศ.543)และถือระยะเวลาที่อยู่ก่อนคริสต์ศักราชลงไป จะเรียกว่าสมัยก่อนคริสต์ศักราชหรือก่อนคริสต์กาล

2. ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.) เป็นการนับเวลาทางศักราชของผู้นับถือศาสนา อิสลามโดยอาศัยปีที่
ท่านนบีมูฮัมหมัดได้อพยพจากเมืองเมกกะไปยังเมืองมาดิ นา เป็นปีเริ่มต้นของศักราชอิสลามซึ่งตรงกับวันที่ 6 กรกฏาคม ค.ศ. 622

อย่างไรก็ตาม การนับศักราชแบบต่างๆ ในบางครั้งบางเหตุการณ์ก็ไม่ได้ระบุความชัดเจนไว้ แต่อาจกล่าวการนับเวลาอย่างกว้างๆ ไว้ ซึ่งนิยมเรียกกันใน 3 รูปแบบ ดังนี้

ทศวรรษ (decade) คือ รอบ 10 ปี นับจากศักราชที่ลงท้ายด้วย 1 ไปจนถึงศักราชที่ลงท้ายด้วย 0 เช่น ทศวรรษที่ 1990 ตามคริสต์ศักราช หมายถึง ค.ศ.1991-2000

ศตวรรษ (century) คือ รอบ 100ปี นับจากศักราชที่ลงท้าย 1 ไปจนครบ 100ปีในศักราชที่ลงท้สยด้วย00 เช่น พุทธศตวรรษที่26 คือ พ.ศ.2501-2600

สหัสวรรษ (millenium) คือ รอบ 1000 ปี ศักราชที่ครบแต่ละสหัสวรรษจะลงท้ายด้วย000 เช่น สหัสวรรษที่ 2 นับตามพุทธศักราช คือ พ.ศ. 1001-2000

หลักเกณฑ์การเรียบเทียบ ศักราชในระบบต่างๆ

การ นับศักราชที่แตกต่าง กัน จะทำให้เกิดความสับสนและไม่ชัดเจนในการศึกษาเรื่องราวประวัติศาสตร์ ดั้งนั้น การเปรียบเทียบศักราชให้เป็นแบบเดียวกัน จะช่วยให้สามารถศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ได้เข้าใจมากขึ้น รวมทั้งทำให้ทราบว่าในช่วงศักราช หรือช่วงเวลาเดียวกันในแต่ละภาคของโลก เกิดเหตุการณณ์ สำคัญๆ ทางประวัติศาสตร์ อะไรบ้าง ซึ่งการเปรียบเทียบศักราชสามารถกระทำได้ง่ายๆ โดยนำตัวเลขผลต่าง ของอายุศักราชแต่ศักราชมาบวกหรือลบกับศักราชที่เราต้องการตามหลักเกณฑ์ดัง นี้



**********************************************************

หลักเกณฑ์การแบ่งยุคสมัยทางประวัติ ศาสตร์

การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์สากล

-แบ่งต่ามความเจริญทาง อารยธรรมของมนุษย์

-แบ่งตามการเริ่มต้นของ เหตุการณ์สำคัญ

-แบ่งตามชื่อจักรวรรดิ หรืออาณาจักรที่สำคัญที่เคยรุ่งเรือง

-แบ่งตามราชวงศ์ที่ปกครอง ประเทศ

-แบ่งตามการตั้งเมืองหลวง


การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์สากล

สมัยก่อนประวัติศาสตร์

-ยุคหินเก่า มนุษย์ใช้เครื่อง มือทำด้วยหินหยาบ ๆ อาศัยอยู่ในถ้ำ ล่าสัตว์

-ยุคหินใหม่ มนุษย์ใช้เครื่องมือหินที่มีการขูด แต่ง ตั้งถิ่นฐานเพราะปลูก เลี้ยงสัตว์

-ยุคโลหะ มนุษย์ใช้เครื่อง มือที่ทำด้วยโลหะ เช่น สำริด เหล็ก อยู่เป็นชุมชน


สมัยประวัติศาสตร์

-สมัยโบราณ

เริ่มประมาณ ๓,๕๐๐ ปีก่อน ค.ศ.เมื่อมนุษย์ประดิษฐ์อักษรถึง ค.ศ. ๔๗๖ เมื่อจักรวรรดิโรมันสิ้นสุด เพราะการรุกรานของพวกอนารยชนเยอรมัน

เริ่ม ค.ศ. ๔๗๖ หลังสิ้นสุดจัรวรรดิโรมัน จนถึง ค.ศ.๑๔๙๒ เมื่อคริสโตเฟอร์ดโคลัมมบัส ค้นพบทวีปอเมริกา

-สมัยกลาง

เริ่ม ค.ศ. ๔๗๖ หลังสิ้นสุดจัรวรรดิโรมัน จนถึง ค.ศ.๑๔๙๒ เมื่อคริสโตเฟอร์ดโคลัมมบัส ค้นพบทวีปอเมริกา

-สมัยใหม่

เริ่มจาก ค.ศ. ๑๔๙๒ เมื่อยุโรปขยายอำนาจและอิทธิพลไปยังส่วนต่าง ๆ ของโลก ทำให้มีผลต่อความเจริญของโลกมัยใหม่ จนถึง ค.ศ.๑๙๔๕ เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒

-สมัยปัจจุบันหรือร่วมสมัย

เริ่มจาก ค.ศ.๑๙๔๕ จนถึงเหตุการณ์และความเจริญปัจจุบัน มีผลต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน



การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย

ส่วนใหญ่ยึดถือหลักเกณฑ์ของประวัติศาสตร์สากล แบ่งเป็น สมัยก่อนประวัติศาสตร์ไทย และสมัยประวัติศาสตร์ไทย

สมัยประวัติศาสตร์ไทยแบ่งตาม

สมัยโบราณหรือสมัยก่อน สุโขทัย ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๑๘๐ ถึง พ.ศ. ๑๗๙๒

สมัยสุโขทัย ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๗๙๒ ถึง ๒๐๐๖

สมัยอยุธยา ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๘๙๓ ถึง ๒๓๑๐

สมัยธนบุรี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๑๐ ถึง ๒๓๒๕

สมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๒๕ ถึง ปัจจุบัน

*******************************************


การ เทียบยุคสมัยสำคัญระหว่างประวัติศาสตร์สากลกับไทย



ตัวอย่างเหตุการณ์สำคัญที่แสดงความ สัมพันธ์และความต่อเนื่องของกาลเวลา

ประวัติศาสตร์สากล

เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์สากละนำมาเป็นตัวอย่าง คือ ยุคจักรวรรดินิยม เกิดขึ้นมาจากปัจจัยหลายประการ ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และพลังทางสังคม ซึ่งทำให้ประเทศในทวีปยุโรปมีอำนาจเข้มแข็งมีความก้าวหน้า ทางเศรษฐกิจ มีความเจริญรุ่งเรือง แต่การมีอำนาจและความมั่นคงดังกล่าวเกิดขึ้นมาเพราะการปฏิวัติอุตสาหกรรม และยุคจักรวรรดินิยม สิ้นสุดเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งทำให้มหาอำนาจ ทั้งหลายหยุดการล่าอาณานิคม แต่อาณานิคมทั้งหลายที่เป็นอยู่ก็ยังคงเป็นอาณานิคมต่อมาอีกหลายปี หลายชาติ เริ่มเรียกร้องเอกราช และส่วนใหญ่ได้เอกราชคืนภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ประวัติศาสตร์ไทย

เหตุการณ์สำคัญใน ประวัติศาสตร์ไทย ที่นำมาเป็นตัวอย่าง คือ ยุคการปรับปรุงประเทศ

อยู่ในช่วง พงศ. 2394-2475 หรือ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้า อยู่หัว ระหว่างนี้มีการปรับปรุงและปฏิรูปประเทศทุกด้านทั้งการปกครอง สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ฯลฯ


*********************************************



ความ หมายของวิธีการทางประวัติศาสตร์

ในการสืบค้น ค้นคว้าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ มีอยู่หลายวิธี เช่น จากหลักฐานทางวัตถุที่ขุดค้นพบ หลักฐานที่เป็นการบันทึกลายลักษณ์อักษร หลักฐานจากคำบอกเล่า ซึ่งการรวบรวมเรื่องราวต่างๆทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ เรียกว่า วิธีการทางประวัติศาสตร์
วิธีการทางประวัติศาสตร์ คือ การรวบรวม พิจารณาไตร่ตรอง วิเคราะห์และตีความจากหลักฐานแล้วนำมาเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ เพื่ออธิบายเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในอดีตว่าเหตุใดจึงเกิดขึ้น หรือเหตุการณ์ในอดีตนั้นได้เกิดและคลี่คลายอย่างไร ซึ่งเป็นความมุ่งหมายที่สำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์

ขั้น ตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย

เป็น ขั้นตอนแรก นักประวัติศาสตร์ต้องมีจุดประสงค์ชัดเจนว่าจะศึกษาอะไร อดีตส่วนไหน สมัยอะไร และเพราะเหตุใด เป็นการตั้งคำถามที่ต้องการศึกษา นักประวัติศาสตร์ต้องอาศัยการอ่าน การสังเกต และควรต้องมีความรู้กว้างๆ ทางประวัติศาสตร์ในเรื่องนั้นๆมาก่อนบ้าง ซึ่งคำถามหลักที่นักประวัติศาสตร์ควรคำนึงอยู่ตลอดเวลาก็คือทำไมและเกิดขึ้น อย่างไร

ขั้น ตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ให้ข้อมูล มีทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร มีทั้งที่เป็นหลักฐานชั้นต้น(ปฐมภูมิ) และหลักฐานชั้นรอง(ทุติยภูมิ)
การรวบรวมข้อมูลนั้น หลักฐานชั้นต้นมีความสำคัญ และความน่าเชื่อถือมากกว่าหลักฐานชั้นรอง แต่หลักฐานชั้นรองอธิบายเรื่องราวให้เข้าใจได้ง่ายกว่าหลักฐานชั้นรอง
ในการรวบรวมข้อมูลประเภทต่างๆดังกล่าวข้างต้น ควรเริ่มต้นจากหลักฐานชั้นรองแล้วจึงศึกษาหลักฐานชั้นต้น ถ้าเป็นหลักฐานประเภทไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ควรเริ่มต้นจากผลการศึกษาของ นักวิชาการที่เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ก่อนไปศึกษาจากของจริงหรือสถานที่จริง
การศึกษาประวัติศาสตร์ที่ดีควรใช้ข้อมูลหลาย ประเภท ขึ้นอยู่กับว่าผู้ศึกษาต้องการศึกษาเรื่องอะไร ดังนั้นการรวบรวมข้อมูลที่ดีจะต้องจดบันทึกรายละเอียดต่างๆ ทั้งข้อมูลและแหล่งข้อมูลให้สมบูรณ์และถูกต้อง เพื่อการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ

ขั้น ตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน
วิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์ คือ การตรวจสอบหลักฐานและข้อมูลในหลักฐานเหล่านั้นว่า มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานและวิพากษ์ข้อมูลโดยขั้นตอนทั้งสองจะกระทำควบ คู่กันไป เนื่องจากการตรวจสอบหลักฐานต้องพิจารณาจากเนื้อหา หรือข้อมูลภายในหลักฐานนั้น และในการวิพากษ์ข้อมูลก็ต้องอาศัยรูปลักษณะของหลักฐานภายนอกประกอบด้วยการ วิพากษ์หลักฐานหรือวิพากษ์ภายนอก
การวิพากษ์หลักฐาน (external criticism) คือ การพิจารณาตรวจสอบหลักฐานที่ได้คัดเลือกไว้แต่ละชิ้นว่ามีความน่าเชื่อถือ เพียงใด แต่เป็นเพียงการประเมินตัวหลักฐาน มิได้มุ่งที่ข้อมูลในหลักฐาน ดังนั้นขั้นตอนนี้เป็นการสกัดหลักฐานที่ไม่น่าเชื่อถือออกไปการวิพากษ์ ข้อมูลหรือวิพากษ์ภายใน
การวิพากษ์ข้อมูล (internal criticism) คือ การพิจารณาเนื้อหาหรือความหมายที่แสดงออกในหลักฐาน เพื่อประเมินว่าน่าเชื่อถือเพียงใด โดยเน้นถึงความถูกต้อง คุณค่า ตลอดจนความหมายที่แท้จริง ซึ่งนับว่ามีความสำคัญต่อการประเมินหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพราะข้อมูลในเอกสารมีทั้งที่คลาดเคลื่อน และมีอคติของผู้บันทึกแฝงอยู่ หากนักประวัติศาสตร์ละเลยการวิพากษ์ข้อมูลผลที่ออกมาอาจจะผิดพลาดจากความ เป็นจริง

ขั้นตอนที่ 4 การตีความหลักฐาน
การตีความหลักฐาน หมายถึง การพิจารณาข้อมูลในหลักฐานว่าผู้สร้างหลักฐานมีเจตนาที่แท้จริงอย่างไร โดยดูจากลีลาการเขียนของผู้บันทึกและรูปร่างลักษณะโดยทั่วไปของประดิษฐกรรม ต่างๆเพื่อให้ได้ความหมายที่แท้จริงซึ่ง
อาจแอบแฟงโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม
ในการตีความหลักฐาน นักประวัติศาสตร์จึงต้องพยายามจับความหมายจากสำนวนโวหาร ทัศนคติ ความเชื่อ ฯลฯ ของผู้เขียนและสังคมในยุคสมัยนั้นประกอบด้วย เพื่อทีจะได้ทราบว่าถ้อยความนั้นนอกจากจะหมายความตามตัวอักษรแล้ว ยังมีความหมายที่แท้จริงอะไรแฝงอยู่

ขั้น ตอนที่ 5 การสังเคราะห์และการวิเคราะห์ ข้อมูล

จัด เป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าจะต้องเรียบเรียงเรื่อง หรือนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่เป็นการตอบหรืออธิบายความอยากรู้ ข้อสงสัยตลอดจนความรู้ใหม่ ความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้านั้น
ในขั้นตอนนี้ ผู้ศึกษาจะต้องนำข้อมูลที่ผ่านการตีความมาวิเคราะห์ หรือแยกแยะเพื่อจัดแยกประเภทของเรื่อง โดยเรื่องเดียวกันควรจัดไว้ด้วยกัน รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กัน เรื่องที่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน จากนั้นจึงนำเรื่องทั้งหมดมาสังเคราะห์หรือรวมเข้าด้วยกัน คือ เป็นการจำลองภาพบุคคลหรือเหตุการณ์ในอดีตขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์และความต่อเนื่อง โดยอธิบายถึงสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และผล ทั้งนี้ผู้ศึกษาอาจนำเสนอเป็นเหตุการณ์พื้นฐาน หรือเป็นเหตุการณ์เชิงวิเคราะห์ก็ได้ ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการศึกษา

ที่มา: http://www.pramot.com/stuweb/m4_249/dee/home.htm

http://writer.dek-d.com/Writer/story/viewlongc.php?id=361744&chapter=28