หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

โครงงานทางประวัติศาสตร์ เรื่องเงือกทอง ณ แหลมสมิหลา

โครงงานทางประวัติศาสตร์

เรื่อง เงือกทอง ณ แหลมสมิหลา



คณะผู้จัดทำโครงการ

1.นางสาวลัดดาวัลย์ จรเอียด เลขที่ 2 ชั้น ม.5/8

2.นางสาวอิสรีย์ สุขเพ็ง เลขที่ 3 ชั้น ม.5/8

3.นางสาวธนัชชา เศาธยะนันท์ เลขที่ 21 ชั้น ม.5/8

4.นางสาวฟารีดา วะคีมัน เลขที่ 26 ชั้น ม .5/8

เสนอ

อาจารย์การุณย์ สุวรรณรักษา

**********************************************

ที่มาและเหตุผล

นาง เงือกทอง เป็นสัญลักษณ์ของหาดสมิหลา ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญและมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของจังหวัดสงขลา และนอกจากนั้นยังมีประวัติที่น่าสนใจซึ่งเกี่ยวข้องกับหาดสมิหลา ผู้จัดทำจึงได้เข้าไปศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับนางเงือกและประวัติความเป็นมาของ การสร้างประติมากรรม ซึ่งสร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดสงขลาและเพื่อที่จะนำข้อมูลที่ได้ศึกษามา เผยแพร่ให้กับผู้ที่สนใจนำไปศึกษาต่อไปได้

จุดมุ่งหมายของการศึกษา

1.เพื่อได้ศึกษาประวัติศาสตร์โดยใช้ขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์เป็นแนวทางใน การศึกษา

2.เพื่อทราบประวัติความเป็นมาและจุดมุ่งหมายของการสร้างประติมากรรมนางเงือก

3. เพื่อทราบประวัติความเป็นมาของนางเงือกโดยทั่วไป

4. เพื่อนำเสนอข้อมูลให้กับผู้ที่สนใจและต้องการจะนำไปศึกษาต่อ

วิธีการดำเนินงาน

ขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์

ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย: กำหนดหัวข้อเรื่องซึ่งศึกษาเกี่ยวกับประติมากรรมนางเงือก บริเวณหาดสมิหลาและแบ่งหน้าที่ให้กับสมาชิกในกลุ่ม

ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล: รวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจพื้นที่บริเวณประติมากรรมนางเงือก ถ่ายรูป และจดบันทึกข้อมูลที่ได้ศึกษาจากพื้นที่จริง

และหาข้อมูลเพิ่มเติมในอินเทอร์เน็ต

ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน: ตรวจสอบข้อมูลที่หาได้จากอินเทอร์เน็ตและข้อมูลที่ได้จากการจดบันทึกว่าถูกต้องหรือไม่

ขั้นตอนที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูลและตีความข้อมูล: เมื่อ หาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประติมากรรมนางแล้วจึงนำมาวิเคราะห์อีกทีหนึ่ง เพื่อเลือกว่าจะนำเสนอส่วนใดบ้างและเพิ่มเติมเนื้อหาส่วนที่ขาดไป

ขั้นตอนที่ 5 นำเสนอผลงาน

วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้

1.) สมุดจด

2.) กล้องถ่ายรูป

3.) ปากกา ดินสอ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ได้นำขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์มาใช้ในการศึกษาประติมากรรมนางเงือก

2.ทราบประวัติความเป็นมาของการสร้างประติมากรรมนางเงือก

3.ทราบประวัติความเป็นมาของนางเงือกทั่วไป

4.ผู้ที่นำไปศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้นั้นไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาได้จริง


ประติมากรรมนางเงือก


แหลมสมิหลา หรือที่มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แหลมหิน อยู่ในเขตเทศบาลเมือง ห่างจากตลาดทรัพย์สิน(ตลาดสดเทศบาล)ประมาณ ๒.๕ กิโลเมตร อยู่ห่างจาก บน.๕๖ฯ ประมาณ ๔๐ กม.มีหาดทรายขาวสะอาด ทิวสนร่มรื่น ชายทะเลเมืองสงขลาซึ่งเปรียบเสมือนห้องรับแขกธรรมชาติที่ต้อนรับผู้มาเยือนเรื่อยมาจนปัจจุบันหาดสมิหลาอยู่ทางตอนเหนือของชายทะเลเมืองสงขลาถัดจากแหลมสนอ่อนทอดยาวไปจรดแหลมสมิหลาที่อยู่ท้ายหาดทางด้านใต้ เป็นชายหาดสวยงามน่าเดินเล่นทรายขาวละเอียด น้ำไม่ลึกมาก เล่นน้ำได้ดี ตลอดแนวจัดเป็นสถานที่พักผ่อนทางวิ่งออกกำลังกาย จุดชมวิวที่มีทิวทัศน์ของเกาะหนู เกาะแมวเป็นฉากหลัง มีปฏิมากรรมรูปนางเงือกนั่งอยู่บนโขดหิน อันเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดสงขลา บริเวณแหลมสมิหลามีโขดหินขนาดย่อมยื่นลงทะเล หาดทรายขาวละเอียดมากที่เรียกว่า "ทรายแก้ว" มีป่าสนร่มรื่น จากแหลมสมิหลาสามารถมองเห็นทิวทัศน์อันงดงามของ เกาะหนูเกาะแมว จนมีคำกล่าวว่าใครมาเยือนสงขลาแล้วไม่มาเยือนสมิหลาก็เหมือนมาไม่ถึงสงขลา

รูปปั้นนางเงือกทองสัญลักษณ์อันโดดเด่นของจังหวัดสงขลาตั้งอยู่บริเวณปลายแหลมสมิหลา นักท่องเที่ยวนิยมจะไปถ่ายภาพคู่กับนางเงือกกันเสมอ นางเงือกทองถูกสร้างขึ้นตามนิยายปรัมปราของไทยโบราณ ซึ่ง ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์) ได้บอกเล่าไว้ว่า ในวันดีคืนดีนางเงือกจะมานั่งหวีผมบนชายหาดด้วยหวีทองคำ
วันหนึ่งบังเอิญว่ามีชายชาวประมงเดินผ่านมา ทำให้นางเงือกตกใจ รีบหนีลงทะเลไปโดยลืมหวีทองคำไว้ ฝ่ายชาวประมงเห็นดังนั้นก็เก็บหวีทองคำไว้และเฝ้าคอยนางเงือกที่หาดนั้นเสมอ แต่นางเงือกก็ไม่เคยปรากฏกายให้เห็นอีกเลย

นางเงือกทองถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2509 ในท่านั่งหวีผม ซึ่งได้หล่อขึ้นด้วยบรอนซ์รมดำ โดยฝีมือการออกแบบ ปั้น และหล่อ โดยอาจารย์จิตร บัวบุศย์ ด้วยราคา 60,000 บาทในสมัยนั้นด้วยเงินงบประมาณของเทศบาลสงขลา








จากแผ่นจารึกที่ประติมากรรมนางเงือกทอง กล่าวไว้ว่า รูปปั้นนางเงือกนี้ สร้างขึ้นในปี 2509 ตามดำริของ นายชาญ กาญจาคพันธุ์ ปลัดจังหวัดสงขลา ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองสงขลาด้วย โดยให้ อาจารย์ จิตร บัวบุศย์ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนเพาะช่าง เป็นผู้ปั้นหล่อ

จากบรอนขรมดำ โดยใช้งบประมาณของเทศบาล 60,000 บาท ตั้งชื่อว่า เงือกทอง (Golden Mermaid เป็นสัญลักษณ์ของแหลมสมิหลามาจนทุกวันนี้ นางเงือก เป็นนางในวรรณคดีไทย เรื่อง พระอภัยมณี ของ สุนทรภู่ เอกกวีสมัยรัชกาลที่ 2 ( พ.ศ. 2352 - 2367 ) ตามคำบอกเล่าของขุนวิจิตรมาตรา ( สง่า กาญจนาคพันธุ์ นั้น นิทานปรัมปราไทยเรื่องหนึ่งว่า ในคืนท้องฟ้างาม ณ ชายหาดสวยแห่งหนึ่ง จะมีนางเงือกขึ้นจากทะเลมานั่งหวีผมอยู่ คืนหนึ่งมีชายหนุ่มชาวประมงไปพบเข้า นางเงือกตกใจหนีลงน้ำไป ทิ้งหวีทองคำไว้ ชาวประมงผู้นั้นเฝ้าแต่รอคอย แต่นางเงือกก็ไม่ปรากฏตัวอีกเลย

********************************************


ตำนานที่เกี่ยวกับนางเงือก



นางเงือก (mermaid) เป็นสัตว์โลกอยู่ในทะเลในจินตนาการ มีศีรษะและลำตัวท่อนบนเป็นผู้หญิงสวย ท่อนล่างเป็นปลา ภาษาเยอรมันเรียกนางเงือกว่า meerfrau และเดนมาร์กคือ maremind

โจนส์ระบุว่านางเงือกคือเทพธิดาแห่งทะเล มักปรากฏตัวขึ้นเหนือผิวน้ำ มือหนึ่งถือหวีสางผม มือหนึ่งถือกระจก มีลักษณะคล้ายไซเรน (siren - ปีศาจทะเล ครึ่งมนุษย์ผู้หญิง ครึ่งนก มีเสียงไพเราะมาก ล่อลวงคนไปสู่ความตาย ในนิทานปรัมปราของกรีก)

แต่เดิมนางเงือกอาจจะเป็นธิดาของพวกเคลต์ (ชาวไอริชโบราณ) นอกจากนี้ตำนานเกี่ยวกับนางเงือกมาจากเรื่องเล่าของพวกกะลาสีด้วย ซึ่งเกี่ยวข้องกับความหายนะของมนุษย์ (Jobes 1961: 1093) แต่โรสกล่าวว่า บางครั้งนางเงือกก็ให้คุณต่อมนุษย์ มนุษย์ที่ช่วยเหลือนางเงือกมักได้รับความรู้เรื่องสมุนไพรรักษาโรคซึ่งเยียวยาไม่ได้แล้ว ได้ของกำนัล หรือนางเงือกช่วยเตือนให้ระวังพายุ (Rose 1998: 218)

บางครั้งนางเงือกก็ได้รับสมญานามว่าพรหมจารีแห่งทะเล มีลักษณะสวยงาม กระจกของนางเงือกคือสิ่งที่แทนวงพระจันทร์ และผมที่สยายยาวคือสาหร่ายทะเล หรือรังสีบนผิวน้ำ (Jobes 1961: 1093) แต่บางครั้งก็กล่าวว่ากะลาสีเรือเดินทางไปในเรือนานๆเข้า ไม่ได้เห็นผู้หญิงเลยก็เกิดภาพหลอนขึ้นมา นั่นคือนางเงือกไร้ตัวตนอย่างสิ้นเชิง แต่พวกเดินทางทางเรือเกิดจินตนาการเพราะว้าเหว่คิดถึงครอบครัว

เงือกเป็นปริศนาเร้นลับหลายศตวรรษที่ผ่านมามีเรื่องเล่าขานกันว่าถ้าบนบกมีสัตว์ที่ครึ่งคนครึ่งม้า (เซนทอร์) ในน้ำก็ต้องมีครึ่งคนครึ่งปลาข้อสรุปนี้อาจเป็นสมมุติฐานที่เลื่อนลอยแต่เราเคยพบปลารูปร่างหน้าตาเหมือนหมู แต่ไม่ได้หมายความว่าในน้ำมีหมูอยู่จริง


หลักฐานที่พบจากหนังสือพิมพ์เซ้าแอฟริกัน ฟรีเทอร์เรียนิวส์ ฉบับวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 1977 รายงานว่ามีคนพบเงือกตนหนึ่งขึ้นมาเหนือน้ำขณะที่ทะเลคลั่งและท้องฟ้ามีแต่ดาวมีร่างท่อนบนเป็นหญิงสาวแสนสวยลอยเหนือผิวน้ำสักพักก็จมหายไปแต่เห็นมีส่วนที่คล้ายหางของปลาชูขึ้นแล้วจมหายลงไปในทะเล

ตามตำนานเกี่ยวกับเงือกนั้นกล่าวไว้ว่าเทพโอนเน่ส์เทพเจ้าแห่งท้องน้ำเทพเจ้าแห่งแสงสว่างและสติปัญญามีบุตรสาว และบุตรชาย ที่มีรูปร่างคล้ายปลา ให้ดูแลท้องน้ำในมหาสมุทรและปกครองทะเลทั้งหมด เรื่องหนึ่งที่น่าประหลาดเกิดขึ้นในปี ค.ศ.1608 มีคนพบคนครึ่งปลากลุ่มใหญ่ออกมาปิดปากถ้ำที่เซ็นไอเว่ส์แถบชายฝั่งเบ็นโอเวอร์เนื่องจากเรือหลายลำได้รับคำสั่งให้ไปจับคนนอกศาสนาหรือเหล่าเพแกนมาทำโทษและจัดการฆ่าทิ้งศพลงทะเล เหตุการณ์นี้ยังเป็นที่งุนงงมาถึงปัจจุบันว่าจริงหรือไม่

บางตำนานก็กล่าวไว้ว่าเงือกคือปีศาจที่คอยทำให้นักเดินเรือหลงทางและเรืออัปปางในที่สุดก็จมสู่ก้นมหาสมุทร เธอจะอยู่บนผาหินคอยหวีผมและร้องเพลงทำให้นักเดินเรือเคลิ้มด้วยเสียงและท่าทางที่ยั่วยวนของเธอทำให้หลงทิศทางและพอเรือเข้ามาใกล้เสียงเพราะเพราะที่ได้ยินนั้นก็กลับกลายเป็นเสียงหวีดร้องที่โหยหวนน่ากลัวแล้วเงือกก็จะจมเรือเหล่านั้นลง

หลักฐานอีกอย่างที่สนับสนุนเรื่องเงือกมีจริงเมื่อปี1685 ได้มีชาวประมงพบซากสัตว์ที่ดูคล้ายคนครึ่งปลานอนตายเกยชายฝั่งของฟิลิปปินไปทางตะวันตก และ ปี 1741ได้มีคนพบซากของปลามีหัวเป็นคนที่ฝั่งทางตอนใต้ของออสเตเรีย แต่ที่สำคัญเมื่อ ปี 1985 ได้มีคนค้นพบปลาชนิดหนึ่งมีหัวคล้ายๆหน้าของมนุษย์ตัวเป็นปลาต่อมาได้ให้ชื่อปลาชนิดนี้ว่า HUMANFISH


ส่วนเงือกในประเทศไทย ถูกกล่าวขานมาตั้งแต่สมัยอดีต ผ่านเรื่องราวต่างๆ มากมาย แต่เป็นเงือกที่ได้รับความนิยม และกล่าวขวัญกันมากที่สุดก็คือ เงือกในวรรณคดีของ สุนทรภู่ เรื่อง พระอภัยมณี ที่นางเงือก (เงือกสาว) และเงือกตายาย ช่วยพาพระอภัยมณีหนีจาก ผีเสื้อสมุทรได้จนสำเร็จ และนางเงือกได้เป็นชายาของพระอภัยมณี จนมีโอรสด้วยกัน 1 องค์ ชื่อว่า สุดสาคร


ในภาษาไทยโบราณ รวมทั้งในวรรณคดีสมัยอยุธยา ถึงรัตนโกสินทร์ มีคำว่า เงือก มาแล้ว แต่มีความหมายแตกต่างกันไป พอจะสรุปได้ดังนี้

-งู : คำว่าเงือกในภาษาไทยโบราณ และภาษาตระกูลไตบางถิ่นนั้น มักจะหมายถึง งู ดังปรากฏในลิลิตโองการแช่งน้ำ ที่ว่า "ท้าวเสด็จเหนือวัวเผือก เอาเงือกเกี้ยวข้าง อ้างทัดจันทร์เป็นปิ่น" นั่นคือ เอางูมาพันรอบกาย, "เสียงเงือกงูว้าง ขึ้นลง" หมายถึง เสียงงู เหล่านี้เป็นภาษาเก่าที่ไม่ปรากฏแล้วในปัจจุบัน

-สัตว์ร้าย จำพวกผี หรือปิศาจ : ปรากฏในลิลิตพระลอ วรรณกรรมสมัยอยุธยาเช่นกัน

-สัตว์ครึ่งคนครึ่งปลา : เชื่อกันว่าเงือกในลักษณะนี้ปรากฏครั้งแรกในวรรณคดีพระอภัยมณีดังกล่าวมาข้างต้น แต่อาจมีค้นเค้าจากเรื่องอื่นก็เป็นได้

***********************************

ประมวลภาพการศึกษาแหล่งเรียนรู้

บริเวณรูปปั้นนางเงือก ณ แหลมสมิหลา











******************************************************

อ้างอิง

http://www.wing56.rtaf.mi.th/introtour.htm

http://www.prapayneethai.com/th/tourist_attraction/south/view.asp?id=0830

http://www.siamfreestyle.com/travel-attraction/songkhla/samila-cape.html

http://202.149.101.227/student_project/Songkhla/tourist-samilar.html

http://th.wikipedia.org/

http://horoscope.thaiza.com


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น